TSP Webboard
TSP Radio
 
1) มาถึงปารีส
 
2) การศึกษา
 
3) สาขาวิชาต่าง ๆ
 
4) เล่าสู่กันฟัง
 
5) กิจกรรมยามว่าง
 
6) มุมน้ำชาในห้องรับแขก
 
7) เที่ยวปารีส
 
8) links
 
   
 

การเลือก หูฟัง สำหรับ เครื่องเล่น MP3/MP4 คู่ใจ

 
 

การเลือก หูฟัง
1. องค์ประกอบ ของ คุณลักษณะ ของหูฟัง 2
2. ข้อมูลเชิงวิชาการ 3
3. องค์ประกอบในการรับฟังเสียง เพลงที่ดี 4
4. ตัวอย่างการเลือกซื้อ หูฟัง 4
5. แนะนำหูฟัง

1. องค์ประกอบ ของ คุณลักษณะ ของหูฟัง

- 
การตอบรับ คลื่นความถี่ โดยทั่วไปจะตอบรับที่ 20 – 20kHz ในจำพวกหูฟังทั่วไปที่ขายอยู่ตามท้องตลาด แต่ หูฟัง ที่มีประสิทธิภาพ ดี จะ ตอบรับ ความถี่ต่ำได้ถึง 6Hz และความถี่สูง ได้ถึง 25kHz โดย หูฟังที่ตอบรับความถี่ได้มากกว่า 6-25kHz นั้น ผู้เขียนยังไม่พบเห็นในท้องตลาดทั่วไป และในความเป็นจริงแล้ว อาจจะ ไม่มีความจำเป็น ที่จะ ต้องตอบรับได้มากกว่านั้น เพราะ ความถี่ในการรับฝังของคนเรา จะอยู่ที่ 20-20kHz โดยประมาณ แต่ความที่ นอกเหนือ ช่วงคลื่นนี้ จะ ถูกแสดง ออกมาในความรู้สึกต่างๆ ของการรับฟัง เช่นความถี่ที่ต่ำมาก จะถูกแสมดงออกมาในรูปการสั่น ของ เสียงช่วงเบส

- 
การตอบรับคลื่นข้อมูลชุดแรก sensibility โดย การเลือกซื้อ ควรจะเลือกซื้อ ที่มัน มีค่าต่ำสุด เช่น หูฟังที่ตอบสนองได้ -50mV จอตอบรับได้ดีกว่า -100mV เพราะ ค่านี้คือ ค่า ความสูง ของคลื่นต่ำสุดที่หูฟังสามารถส่งผ่านมาได้ แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ที่จะซื้อหูฟังไม่มีทางเลือกมากเพราะค่าๆ นี้โดยมากจะเท่ากันหรือต่างกันไม่มาก

- 
ความต้านทานภายใน โดยจะแสดงค่าแค่ R มีหน่วยเป็น โอม ถ้า ค่านี้มีค่าสูง แสดงว่าหูฟังจะกินไฟ แต่ เสียงที่จ่ายออกมาก น่าจะดังกว่า เสียง ในหูฟังที่มีค่านี้ต่ำกว่า เพราะ พลังงาน ที่จ่ายออกมาก จะถูก หูฟัง ดูด รับ และจ่ายออกมาในรูปเสียง ดั้งนั้นเมื่อ หูฟัง มีค่านี้มาก มัน ก็ น่าจะ จ่าย พลังงานออกมาได้มาก ทั้งนี้ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับ lost ของหูฟังว่ามีค่าสูงแค่ไหน

- 
การจ่ายเสียงได้มากที่สุด คือ การจ่ายเสียงได้มากที่สุด โดยหูจะยังไม่พัง (หูเราจะพังก่อน) โดยเลือกค่ามากๆ จะดี เพราะ แปลว่า มันหู จะแตกยาก (หูฟังจะพังยาก) เวลา ที่หูพังแตก จะมีเสียงอู้อี้ๆ โดยเฉพาะ เมื่อ มันเจอ เพลงที่มีความถี่สูงเกิน หรือต่ำเกิน โดย หูทั่วไปจะมีค่าประมาณ 50dB (เราเห็นหูฟังดีๆ จะจ่ายได้ถึง 75-100dB)

- 
ทรงการจ่ายเสียง จริงๆ แล้วก็คือ รูป ทรงของหู ฟัง ว่าทำมุมอย่างไรกับหูของเรา ถ้า ทำมุม ไม่ดี เสียงที่ส่งออกมา จะไปกระทบ กับผนังหู แล้วค่อยสะท้อนเข้าหู เสียงที่ได้ จะมีคุณภาพต่ำว่า หูฟังที่ออกแบบ มาดีๆ ที่ส่งเสียงเข้าไปตรงๆ ในโพลงหูเรา ตัวอย่างของหูฟังที่เห็นได้ชัดเจน ก็คือ หูฟังรูป หนำเลียบของ Koss หรือไม่ก็หูฟังแนวใหม่ที่มีการต่อ ยางหรือ ซีลีโคล เพื่อ ให้เสียงเข้าไปในโพลงหูตรงๆ

2. ข้อมูลเชิงวิชาการ
การรับฟังเสียงของคนเรา ปรกติ แล้ว เครื่องเล่นเพลงแทบทุกประเภท จะ ปล่อย ข้อมูล ออกมาเป็นดิจิตอล ที่ความถี่สูง และ bit rate สูง ดังนั้น ในการแยกแยะ ของหูฟังคนเรานั้น อาจจะ กล่าวได้ว่า เรารับรู้ข้อมูลเป็น analogue แต่เมื่อข้อมุล นั้นผ่าน หูฟัง ซึ่งเป็นอุปกรณ์ อนาล๊อก ข้อมูล ที่รับมากจะ ถูก หน่วงตาม คุณลักษณะความต้านทานภายใน ของอนาล๊อก เช่น คลื่น สี่เหลี่ยม ความถี่สูงสุด ที่ 20kHz

นั้นเป็นคำตอบว่าทำไมเสียง ความถี่สูง ที่ 20kHz เมื่อ ใช้หูฟัง ที่ตอบสนองความถี่ได้สูงกว่านั้น แล้ว จะ สามารถรับฟัง เสียงที่มิติ ของเสียงต่างกันไปกับ หูฟังทั่วไป (ภายในหูฟัง มีส่วนประสบของความต้านทางเชิงซ้อน (complex) คือมีส่วน ของ Z = R + (C+L)i ดั้งนั้น เมื่อคลื่นเสียง ผ่าน เข้าไปในหูฟังจะเกิดการหน่วงของคลื่นขั้น จากผลของ impedance ซึ่งผลที่เกิดขึ้นคือ คลี่นของเรา จะเกิด มุมระหว่าง ส่วน จริง (R) และส่วนเสมือน หรือจิตภาพ ขึ้น (C+L) ซึ่ง มุมที่เกิดขึ้น เมื่อ เรามองผ่าน ซีรี่ ของ ฟูเรียร์ เราจะสามารถ บอกได้ว่า มุม ส่วนที่เปลี่ยนแปลง ของข้อมูล นั้นคือ การเลื่อนไป ของ ความถี่ในข้อมูล ตามในภาพ โดยที่เราต้องไม่ลืมว่า หูฟัง ก็ทำหน้าที่เป็น filter ด้วยเหมือนกัน ดั้งนั้นการโยกย้ายมุม หรือ ความถี่นั้นเป็นเรื่องธรรมดาที่เป็นไปได้) นั้นคือคำตอบว่า ทำไมเมืองเอาหู ฟังที่เขาเขียนว่าตอบสอนงความถี่ได้ถึง 25kHz มาใช้กับเครื่องเล่น ที่ส่งความถี่สูงสุดได้ 20kHz แล้วเราสามารถ ฟัง ข้อมูลได้มิติเสียงที่สูงขึ้น

Sensibility = 20log(Vu/Vn) โดย Vn คือค่าปรกติ หรือในที่นี่คือ ค่า amplitude ของคลื่นที่สูงที่สุด ค่าที่มากที่สุดจะเป็น ศุนย์ ในกรณี่ที่ คลื่นนั้นมีขนาดเท่ากับคลื่นสูงสุด ค่าที่ออกมาจะอยู่ในช่วง ติดลบ

การแยกความถี่ ในเวลา t ใดๆ ตามภาษาชาวบ้าน บางครั้ง เมื่อพูดถึงการแยกความถี่ นั้น ในมุมมอง ของผู้เขียน จะต้องอธิบายเชิงวิขาการ คือต้องแยก สเป็กตรัมของเสียง ในช่วงเวลานั้นนั้นออกมาคุย โดยผ่าน กล่องดำที่เรียกว่า ฟูเรียร์ แต่ ในชิวิต ประจำวัน เราเองก็เห็นมันได้ทั่วๆ ไป เช่น ในเครื่องเ เล่น สเตริโอ จะมีแถว หลายๆ แถบป็นแท่งๆ ที่เมื่อเปิดเพลงแล้วแถวนี้จะเลื่อนขึ้นเลื่อนลงไปมา ตามจังหวะของเพลง แถบนั้นแหละคือ สเป็กตรัม ของเสียงนั้นช่วงเวลานั้นๆ

การแต่งเสียง ช่วงเกินความถี่ 20-20kHz หลายๆคนอาจจะยังมองไม่ออกว่า มันมีประโยชน์ อะไร ผู้เขียนจะลองยกตัวอย่างที่เห็นได้ชัดๆ เช่น ในรถยนต์ จะมี ลำโพงพิเศษ อีกสองชุด คือ ชุดเบส กะชุด เสียงแหลม โดย ชุดเบสจะตั้งไวแถวๆ หลัง รถ เพื่อ สร้าง (หรือแสดง) ความถี่พิเศษ ขั้นมา ในช่วงความถี่ต่ำ และ ก็ยังมี ชุดความถี่สูง ที่เป็นลำโพงเสียงแหลม อีกสองตัว ที่นิยมติดไว้ หน้า รถ ด้านซ้านและ ขวา (ตัวเล็กๆ) เพื่อสร้าง (หรือแสดง) ความถี่พิเศษเสียงสูง โดยทั้งสองชุดนั้นมีหน้าที่ สร้างอารมณ์ การรับรู้ เสียง ให้ แตกต่าง กับ ชุดเครื่องเสียง ทั่วไป

3. องค์ประกอบในการรับฟังเสียง เพลงที่ดี
๑ ต้อนฉบับ ของเสียง เช่น file mp3 ถ้า ต้นฉบับ ดี แล้วเราอาจจะ สามารถรับฟัง เสียงได้ดี ๒ เครื่องเล่นเพลง ปรกติแล้วในเครื่องเล่นเพลง จะมี ส่วนของโปรแกรมที่เรียกว่า filter (digital filter) ที่เอาไว้สำหรับ ปรับโหมดเสียงอยู่ โดยมากจะแบ่งเป็นสองประเภท คือ ประเภทแรก ที่ใช้ ปรับเสียง หรือ กรอง เสียงซ่า (Noise filter) โดยมากแล้ว มันจะซ่อนอยู่และจะปรับไม่ได้ โดย มันจะซูมเสียง ให้เสียงมีความชัดเจน ตัดเสียง ซ่าออก ประเภทที่สอง จะใช้ ปรุง (แต่ง) เสียง โดย เราจะสามารถปรับได้ในโหมด ของการเล่นเพลง เช่น mode pop, mode jazz, mode live โดยหลักการ มัน จะ เลือกตัดช่วงคลื่นเสียงที่เป็น คลี่นรบกวนการฟัง เช่น mode live นั้น จะอณุญาติ ให้ เสียงซ่า ผ่านไปได้ ๓ หูฟ้ง (ได้กล่าวไปข้างต้นแล้ว)

4. ตัวอย่างการเลือกซื้อ หูฟัง
กรณีแรก ถ้า เครื่องเล่น ไม่มีโหมด ตัดเสียงซ่า แล้วเรา ซื้อ หูฟัง ที่ตอบสนองได้ถึง 25kHz ผู้เขียนก็อยากจะบอกว่ามันไม่มีประโชน์ อะไร ที่จะซื้อ ของดีขนาดนั้นมา มีแต่จะกวนใจเวลาฟัง เพราะ เพลงท่ฟัง ออกมา จะมีเสียงซ่า มากวนใจ ควร จะซื้อ หูฟัง ประเภท ซูมเสียงจะดีกว่า เพราะหูฟังประเภทนี้จะทำหน้าทีเป็น filter analogue ไปในตัว เครื่องเล่นจำพวกนี้เช่น เครื่องเล่น mp3 ยี่ห้อ archose

กรณีที่สอง ถ้าเครื่องเล่น นั้น ซูมเสียงมาอยู่แล้ว เช่น iPod, creative movie M เป็นต้น ผู้เขียนแนะนำว่า ควรหา หูฟังประเภทที่ตอบสนองเสียงได้ ช่วงกว้างที่สุด เพราะ อย่างไรก็ตาม เวลาฟัง จะไม่ได้ยินเสียงซ่ามารบกวนอยู่แล้ว

กรณี หูฟังที่มี โพมปิดอยู่ เสียงที่ถูก ส่งออกมา จะถูกโฟมนั้น กรอง อยู่ชั้นแรก ทำให้ น้ำหนักและคุณภาพเสียง นั้นต่ำลง (แต่อาจจะไม่มาก)

หูฟังที่ขายในท้องตลาด มีอยู่ สามประเภท (ค่าต่างๆในคุณลักษณะ ของหูฟังก็จต่างกัน) ประเภทแรก แบบ เสียบ ยัดหู (20-20kHz, 16 Ohm, -100mV sensibility, 50mDB power max) ประเภที่สอง แบบ ทัดหู (จะเป็นก้อนๆ เอามาแปะไว้ข้างหู โดยจะไม่มีส่วนใดๆ เสียบเข้าไปในหู โดยมาก จะเป็น รูป ครึ่งวงกลม แบบ ขนมครก) แบบนี้ จะ ให้เสียงได้ดีกว่า (โดยทั่วไป) แต่จะไม่สะดวกในการใช้งานและการพกพา (20-20kHz, 36Ohm, -50mV sensibility, 100mDB power max) ประเภทที่สาม หู แบบ สเตริโอ อันนี้จะใหญ่มาก แบบใส่ที่คาดผม แล้วมีหูนวมมาคอยปิดหู ปรกติ จะไม่มีคน พกมาใช้นอกบ้านเพราะว่ามันพกยาก แถม แจ๊กที่ใช้เสียบ ยังเป็นขนาดใหญ่ ต้องใช้ แจ๊กแปลง

5. แนะนำหูฟัง และ ซื้อ ได้ ที่ไหน ?

เอปารีส