TSP Webboard
TSP Radio
 
1) มาถึงปารีส
 
2) การศึกษา
 
3) สาขาวิชาต่าง ๆ
 
4) เล่าสู่กันฟัง
 
5) กิจกรรมยามว่าง
 
6) มุมน้ำชาในห้องรับแขก
 
7) เที่ยวปารีส
 
8) links
 
   
 

เรียนต่อ อักษรศาสตร์ ในปารีส

 
 

อักษรศาสตร์ ภาษาต่างประเทศและมนุษยศาสตร์

เรื่องน่ากังวลประการหนึ่งสำหรับนักศึกษาทางด้านอักษรศาสตร์ ทุกสาขาคือ โอกาสในการหางานหลังสำเร็จการศึกษาค่อนข้างลำบาก จึงขอแนะนำว่าการศึกษาต่อทางด้านภาษาของมหาวิทยาลัยมีจุดมุ่งหมายเพื่อฝึกให้เป็นอาจารย์ หรือนักวิจัยเป็นหลัก มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทราบปัญหานี้ดี และพยายามที่จะปรับแนวทางการเรียนการสอนไปในทางที่เป็นวิชาชีพมากขึ้น เช่น การสอนภาษาฝรั่งเศสที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ แต่อย่างไรก็ดี การปฏิรูปอย่างจริงจังต้องอาศัยระยะเวลาอีกยาวนาน นักศึกษาทางด้านภาษาในสมัยที่ประเทศไทยยังไม่มีปัญหาด้านวิกฤติการณ์ค่าเงินบาท ยังพอมีโอกาสหางานได้ในบริษัทที่ดำเนินธุรกิจการนำเข้า-ส่งออกหรือการท่องเที่ยว แต่ปัจจุบันมีโอกาสน้อยลงมาก เพราะบริษัทต่าง ๆ ต้องการความสามารถทางวิชาชีพเฉพาะด้านด้วย ลำพังแต่ความสามารถทางด้านภาษาเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอกับ ความต้องการในตำแหน่งหน้าที่ของบริษัท ทำให้นักศึกษาทางด้านนี้เริ่มประสบปัญหาดังกล่าว และจำเป็นต้องเริ่มงานกับตำแหน่งประเภทเลขานุการหรืองานประชาสัมพันธ์ และหากจะหางานที่มีหน้าที่รับผิดชอบมากขึ้น มักจะมีโอกาสน้อยกว่า เพราะการขาดความรู้ในด้านอื่น ๆ ต่างจากผู้ที่ไปศึกษาวิชาชีพเฉพาะด้าน ซึ่งจะได้ภาษาติดตัวมาด้วย

หลักสูตรของมหาวิทยาลัย University Curriculum

สาขาวิชาอักษรศาสตร์ Lettres (Arts)

แนะนำหลักสูตร

ในระดับอนุปริญญา (1er cycle) อักษรศาสตร์ Lettres (Arts) แบ่งออกเป็น 4 สาขาวิชา คือ

1. Lettres classiques (Classics)

Littérature jusqu’au 17e siècle (French literature up to the 17th Century) / Linguistique générale (General Linguistics) / Linguistique des origines de l’ancien français (Linguistics of Old French Origins) / Civilisations grecque et latine (Greek and Roman Civilisations)

2. Lettres modernes (Modern Literature)

Littérature française des origines au 20e siècle (French literature from the origins to the 20th Century) / Linguistique du français et histoire de la langue (Linguistics and History of the French language) / Latin / Seconde langue vivante (Second language)

3. Sciences du langage (Linguistics)

Linguistique générale (General linguistics) / Phonétique et phonologie (Phonetics and Phonology) / Morphologie et syntaxe (Morphology and Syntax) / Enonciature et pragmatique (Enunciation and pragmatics)

4. Médiation culturelle et communication (Cultural mediation and Communication)

Théorie des médias et de la médiation culturelle (Theory of medias and cultural mediation) / Théorie de l’information et de la communication (Theory of information and communication) / Sémiotique (Semiotics) / Théorie et pratique de la communication (Communication theory and practice)

เงื่อนไขเข้ารับการศึกษา

นักศึกษาที่จบปริญญาตรีภาษาฝรั่งเศสของประเทศไทย อาจจะไม่เป็นที่ยอมรับในการเทียบเท่าระดับปริญญาตรีภาษาฝรั่งเศสของประเทศฝรั่งเศส เสมอไป ซึ่งแต่ละมหาวิทยาลัยจะดูจากทะเบียนผลการเรียนของแต่ละคน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแต่ละมหาวิทยาลัยตามสาขาวิชาที่นักศึกษาจะเลือก

จุดมุ่งหมายของสาขาวิชา

สำหรับนักศึกษาที่ได้รับปริญญาตรีภาษาฝรั่งเศสในประเทศไทย และ ต้องการไปเรียนต่อทางด้านภาษาฝรั่งเศส ควรจะพิจารณาอย่างรอบคอบถึง จุดมุ่งหมายที่ต้องการอย่างแท้จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อจบการศึกษาแล้ว และกลับมาหางานในประเทศไทย โดยเฉพาะบุคคลที่ต้องการกลับมา ทำงานกับบริษัทฝรั่งเศสในประเทศไทย หากเลือกศึกษาภาษาฝรั่งเศส ในสาขาวิชาเหล่านี้ อาจจะไม่เป็นประโยชน์มากนัก และเป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่า แต่ควรจะเลือกเรียนต่อในสาขาวิชาชีพที่นักศึกษาจะได้ทั้งด้านความสามารถทางภาษา และความสามารถในด้านวิชาชีพ ซึ่งน่าจะเหมาะสมกับตลาดงานในประเทศไทยมากกว่า

สาขาวิชาภาษาศาสตร์ Sciences du langage (Linguistics)

แนะนำหลักสูตร

สาขาวิชาของหลักสูตรในระดับที่ 1 (1er cycle) สาขา Sciences du langage (Linguistics) :

Linguistique générale (General linguistics) / Phonétique et phonologie (Phonetics and Phonology) / Morphologie et syntaxe (Morphology and syntax) / Enonciation et pragmatique (Enunciation and pragmatics) / Langue : français ou anglais (French or English language)

หลักสูตรระดับปริญญาโท (Maîtrise de sciences du langage) ขึ้นไปต้องเริ่มเลือกสาขาวิชาเฉพาะด้าน เช่น Documentation (Librarianship) / Etudes francophones (French-speaking communities studies) / Français langue étrangère (French as a Foreign Language) / Traitement automatique des langues (Automatic language processing) / Industries de la langue (Language-related industries) / Linguistique (Linguistics) / Linguistique logique et informatique (Linguistics logics and computer technology)

การศึกษาในหลักสูตรนี้เป็นวิชาที่ค่อนข้างจะเน้นเรื่องความรู้ทางภาษาต่าง ๆ และลักษณะทางภาษาศาสตร์เหมาะสำหรับนักศึกษาที่ต้องการเป็นอาจารย์หรือนักวิจัยทางด้านนี้ สาขาวิชานี้รวมสาระวิชาคอมพิวเตอร์ที่ เกี่ยวข้องกับภาษาศาสตร์ด้วย

สาขาวิชาภาษาและวรรณคดีฝรั่งเศส Lettres (French Language & Literature)

แนะนำหลักสูตร

สาขาวิชาต่าง ๆ ของหลักสูตรในระดับที่ 1 (1er cycle) สาขา Lettres Modernes (French modern literature), Littérature française des origines au XXe siècle (French literature from the origins to the 20th Century) / Linguistique du français et histoire de la langue (French linguistics and history) / Latin / Seconde langue vivante (second language)

หลักสูตรในระดับที่ 2 (2ème cycle) (Licence de lettres modernes) ขึ้นไป ต้องเลือกสาขาวิชาเฉพาะด้าน Documentation (Librarianship) / Communication / Français Langue Etrangère (French as a Foreign Language) / Métiers du livre et médias (Editing publishing and medias) / Pédagogie (Educational technology)

ในอดีตการศึกษาทางด้านนี้เหมาะสำหรับคนที่ต้องการเป็นอาจารย์ หรือนักวิจัย เพราะการศึกษาวรรณคดีของประเทศใดประเทศหนึ่งเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการศึกษาวัฒนธรรมของประเทศนั้น แต่ในปัจจุบันประเทศต่าง ๆ มีความสัมพันธ์กันอย่างกว้างขวางมากขึ้น ดังนั้น ความรู้ระหว่างวัฒนธรรมจะมีความสำคัญสำหรับการทำงานในบริษัท เช่น บริษัทที่มีพนักงานหลายเชื้อชาติทำงานร่วมกัน ซึ่งมักจะมีการจัดการประชุมสัมมนาเรื่องการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมอยู่เสมอ ด้วยเหตุนี้ บริษัทต่าง ๆ จึงเริ่มมีการให้ความสำคัญกับ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านภาษามากขึ้น อีกประการหนึ่ง วรรณคดีฝรั่งเศสที่แปลเป็นภาษาไทยยังมีน้อยมาก จึงทำให้การศึกษาทางด้านอักษรศาสตร์ อาจจะกระตุ้นความสนใจของนักศึกษาเข้าสู่วงการแปลวรรณกรรมมากขึ้น

สาขาวิชาการสอนภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาต่างประเทศ Français Langue Etrangère (FLE) (French as a Foreign Language)

Français Langue Etrangère (FLE) คือการศึกษาวิธีการสอนภาษา โดยเฉพาะทฤษฎีทางภาษาศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ทางวัฒนธรรม โดยจะไม่มีการศึกษาด้านวรรณคดีเลย จึงเป็นการฝึกให้รู้จักวิธีการสอนภาษา และวิธีการสร้างคู่มือการเรียนภาษาเท่านั้น การศึกษาสาขานี้เหมาะสำหรับนักศึกษาที่มีความประสงค์จะเป็นอาจารย์สอนภาษาฝรั่งเศส เป็นภาษาที่ 2 ในมหาวิทยาลัยหรือโรงเรียนมัธยมศึกษา

แนะนำหลักสูตร

สาขา F.L.E เป็นสาขาวิชาประเภทครุศาสตร์ ซึ่งสอนนักศึกษาที่จะทำหน้าที่เป็นอาจารย์สอนภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาที่ 2 อีกทีหนึ่ง และเป็นปริญญาเฉพาะระดับปริญญาโทเท่านั้น (ไม่มีระดับปริญญาตรี) ในการศึกษาระดับปริญญาตรี F.L.E. จะเป็นสาขาวิชาย่อยของคณะอักษรศาสตร์ คณะภาษา ต่างประเทศ (Langue étrangère) หรือคณะภาษาศาสตร์ (Sciences du langage)

ในระดับที่ 1 ของมหาวิทยาลัยนักศึกษาสามารถเรียนได้ 2 แนวทางคือ DEUG de lettres (Undergraduate Degree in Arts) DEUG de langue (Undergraduate Degree in Foreign Language)

ในระดับที่ 2 (2ème cycle) : Maîtrise de français langue étrangère (FLE) (Master Degree in French as a Foreign Language)

Maîtrise de langues, littératures et civilisations étrangère (LLCE) mention français langue étrangère (FLE) (Master Degree in Foreign Language Literature and Civilisation Option : French as a Foreign Language)

สำหรับคนที่สนใจเรียนด้านภาษา ยังมีภาษาอื่น ๆ ที่สามารถเรียนได้นอกเหนือจากภาษาฝรั่งเศส ไม่ว่าจะเป็นภาษาประเทศตะวันตก หรือตะวันออก แต่ควรจะเป็นบุคคลที่มีความสามารถพิเศษด้านนี้

สาขาวิชาภาษาตะวันตก Langues Européennes (European Languages)

แนะนำหลักสูตร

ในมหาวิทยาลัยสามารถเรียนภาษาประเทศตะวันตกได้เกือบทุกภาษาเช่น สเปน อิตาลี โปรตุเกส อังกฤษ เยอรมัน รัสเซีย กรีก เป็นต้น

ในระดับที่ 1 (1er cycle) ของมหาวิทยาลัย เรียนภาษาต่างประเทศได้ 2 แนวทางคือ

Langues étrangères appliquées (LEA) (Applied Foreign Language) เป็นหลักสูตรที่เน้นทางวิชาชีพ และการใช้ภาษาเป็นหลักในการประกอบอาชีพ

Deux langues étrangères (two foreign languages) / Traduction (Translation) / Français (French) / Initiation à l’économie et au droit (Initiation to economy and law)

หลักสูตรให้เลือกในระดับปริญญาโท

Commerce international (International business) / Affaires et commerce (Business and commerce) / Traduction Spécialisée (Specialized translation) / Droit (Law) / Documentation (Librarianship) / Tourisme (Tourism) / Langue, littérature et civilisation étrangères (LLCE) (Foreign Language Literature and Civilization)

เป็นหลักสูตรที่เน้นทางการศึกษาด้านวัฒนธรรมและวรรณคดี ซึ่งเหมาะกับการเป็นอาจารย์สอนภาษา

Deux langues étrangères (two foreign languages) / Histoire, civilisation et littérature (History civilisation and literature).

การแปลและล่าม Traduction et Interprétation (Translation and Interpretation)

ในมหาวิทยาลัยนักศึกษาสามารถเรียนวิชาการแปลและล่ามได้ 2 แนวทาง คือ

คณะภาษาต่างประเทศประยุกต์ Langues étrangères appliquées (LEA) (Applied Foreign Languages)

คณะภาษาวรรณคดีและวัฒนธรรมต่างประเทศ Langue, littérature et civilisation étrangères (LLCE) (Foreign Language Literature and Civilization)

นักศึกษาที่สำเร็จปริญญาตรีแล้วสามารถศึกษาต่อในระดับปริญญาโท LEA หรือ LLCE สาขาวิชาการแปลและล่าม หรือสามารถสอบเข้าโรงเรียน ชั้นสูงการแปลและล่าม

การเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย มีโอกาสเข้าได้ง่ายกว่าโรงเรียนชั้นสูง แต่ก็ยังต้องผ่านการศึกษาภาษาต่างประเทศนอกเหนือจากภาษาฝรั่งเศส ที่ใช้ในการสอนอีกอย่างน้อย 2 ภาษา ซึ่งทำให้โอกาสของนักศึกษาไทยมีน้อยลงไป ภาษาที่มักจะได้รับการพิจารณาคือ อังกฤษ เยอรมัน อิตาลี และ บางแห่งยอมรับภาษาโปรตุเกส เนเธอร์แลนด์ อาหรับ จีน ญี่ปุ่น และรัสเซีย

สาขาภาษาตะวันออก Langues orientales (Oriental Languages)

ในช่วงเวลาที่กลุ่มประเทศอาเซียนกำลังพัฒนา และมีความสัมพันธ์กับสหภาพยุโรปมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง การศึกษา สังคมจิตวิทยา และวัฒนธรรม การเรียนภาษาและวัฒนธรรมของประเทศเพื่อนบ้านจะมีความสำคัญมากขึ้น สถาบันภาษาและอารยธรรมตะวันออกแห่งชาติ (INALCO : Institut National des Langues et Civilisations Orientales) เปิดหลักสูตรการสอนภาษาต่าง ๆ คือ ภาษาไทย เขมร ลาว พม่า อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เกาหลี เป็นต้น

หลักสูตรโรงเรียนการแปลและล่าม Schools of Translation Curriculum

การเลือกสาขาวิชาที่จะศึกษาต่อคือการเลือกอนาคตของตัวท่านเอง ดังนั้น จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการตัดสินใจเลือกสาขาวิชา ซึ่งนักศึกษาควรที่จะตรึกตรองอย่างถี่ถ้วนก่อน ทั้งนี้เพราะต้องการให้นักศึกษาที่เลือกเรียน วิชาภาษาฝรั่งเศสได้รู้จักสาขาวิชาที่จะเปิดโอกาสด้านการงานมากขึ้น ดังมี รายละเอียดดังต่อไปนี้

ในประเทศไทย อาชีพการแปลและล่ามภาษาไทย-ฝรั่งเศสโดยตรง มีไม่มากนัก คนที่ทำงานประเภทนี้ส่วนใหญ่เป็นอาจารย์ที่เป็นที่ยอมรับว่ามี ความรู้ทางภาษาและวัฒนธรรมฝรั่งเศสเป็นอย่างดี แม้ว่าแนวทางการทำงานในด้านนี้ยังอยู่ในวงจำกัด โดยมีคู่แข่งขันน้อย แต่ในขณะเดียวกันก็มีความ ต้องการทางด้านการแปล และล่ามภาษาไทย-ฝรั่งเศสไม่มากนัก

เงื่อนไขเข้ารับการศึกษา นักศึกษาจะต้องผ่านการสอบคัดเลือกแข่งขันที่มีมาตรฐานที่ค่อนข้างยาก ผู้ที่สามารถสอบผ่านเข้าไปศึกษาได้ ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาที่เรียน และสำเร็จอนุปริญญา DEUG ทางด้านอักษรศาสตร์ หรือภาษาต่างประเทศ (LLCE หรือ LEA) และจะต้องมีความสามารถด้านภาษาอย่างน้อย 2 ภาษา รวมทั้งการมีโอกาสไปฝึกภาษาในต่างประเทศบ่อย ๆ